Wednesday, November 5, 2008
ลอยกระทง ด้วยกระทงทำเองกันดีกว่า
อุปกรณ์
1.ใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว 30-40ชิ้น (แล้วแต่ขนาดกระทง เพราะเราจะเอามาแปะรอบๆกระทง)
2. เข็มและด้ายสีเขียว เพื่อร้อยใบตองเข้าด้วยกัน
3.กลัดไม้ สำหรับติดใบตองให้ยึดกันกระทง
4.ดอกไม้สีต่างๆ เพื่อวางบนกระทง สีตามชอบ
5.ธูปและเทียนเพื่อปักบนกระทง
วีธีทำกระทงแบบต่างๆ
แบบที่ 1 (หัวขวาน)
วิธีทำ
1.ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ
2.พับตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาสวมเีัรียงกันให้มีระยะห่างพองามตามความชอบ เพื่อให้ผลงานออกมาดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย ควรพับแต่ละกลีบให้ได้ขนาดเท่ากันทุกจุด
3.ใช้ด้ายสีเขียวใกล้เคียงกับใบตอง หรือสีดำมาเย็บติดกันด้วยด้นถอยหลังให้เป็นแนวตรงเสมอกันโดยตลอด
4.พับกลีบใบตองแล้วเย็บต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถหุ้มขอบของฐานกระทงได้โดยรอบ ตรึงกลับใบตองกับฐานของกระทงด้วยหมุด แล้วขลิบส่วนที่เลยพ้นฐานลงมาให้เรียบร้อยเสมอกับฐาน เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายอ่างน้ำ
5.จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ
สามารถนำการพับใบตองรูปแบบนี้ไปใช้ร่วมกับการพับรูปแบบอื่นๆ ในผลงานชิ้นเดียวกันได้ตามความชอบ และความคิดดัดแปลงส่วนตอนที่จะนำไปลอยนั้น บางคนอาจจะตัดเล็บ และผมใส่ลงไปด้วย ตามความเชื่อว่าเป็นการขจัดสิ่งร้ายๆ ให้ออกไปจากตัวเรา หรือจะใส่เหรียญลงไปด้วย เพื่อนำมาซึ่งความมั่งคั่งตามความเชื่อก็ได้นะคะ
แบบที่ 2 (กลีบกุหลาบ)
วิธีทำ
1.ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ
2.พับเป็นกลีบกุหลาบตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาสวมเีัรียงกันให้มีระยะห่างพองามตามความชอบ ควรจัดให้ยอดของกลีบ และลอนของกลีบตรงเสมอเป็นแนวเดียว ซึ่งจะทำให้ผลงานออกมาดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย
3.ใช้ด้ายสีเขียวใกล้เคียงกับใบตอง หรือสีดำมาเย็บติดกันด้วยด้นถอยหลังให้เป็นแนวตรงเสมอกันโดยตลอด
4.พับกลีบใบตองแล้วเย็บต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถหุ้มขอบของฐานกระทงได้โดยรอบ ตรึงกลับใบตองกับฐานของกระทงด้วยหมุด แล้วขลิบส่วนที่เลยพ้นฐานลงมาให้เรียบร้อยเสมอกับฐาน เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายกับมงกุฏสวมศีรษะ
5.จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ
สามารถนำการพับใบตองรูปแบบนี้ไปใช้ร่วมกับการพับรูปแบบอื่นๆ ในผลงานชิ้นเดียวกันได้ตามความชอบ และความคิดดัดแปลงส่วนตอนที่จะนำไปลอยนั้น บางคนอาจจะตัดเล็บ และผมใส่ลงไปด้วย ตามความเชื่อว่าเป็นการขจัดสิ่งร้ายๆ ให้ออกไปจากตัวเรา หรือจะใส่เหรียญลงไปด้วย เพื่อนำมาซึ่งความมั่งคั่งตามความเชื่อก็ได้นะคะ
แบบที่ 3 (กลีบผกา)
วิธีทำ
1.ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ
2.พับตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาวางซ้อนให้ลดหลั่นกันไปตามภาพ ซึ่งจะนับเป็น 1 ตับ
3.นำไปติดโดยรอบที่ขอบของฐานกระทง ซึ่งเป็นต้นกล้วยตัดเป็นแว่น ความหนา 1.5 - 2 นิ้ว โดยประมาณ ทั้งนี้ปริมาณของกลีบกระทงที่ใช้จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของตัวฐาน
4.จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ
สามารถนำการพับใบตองรูปแบบนี้ไปใช้ร่วมกับการพับรูปแบบอื่นๆ ในผลงานชิ้นเดียวกันได้ตามความชอบ และความคิดดัดแปลงส่วนตอนที่จะนำไปลอยนั้น บางคนอาจจะตัดเล็บ และผมใส่ลงไปด้วย ตามความเชื่อว่าเป็นการขจัดสิ่งร้ายๆ ให้ออกไปจากตัวเรา หรือจะใส่เหรียญลงไปด้วย เพื่อนำมาซึ่งความมั่งคั่งตามความเชื่อก็ได้นะคะ
Sunday, November 2, 2008
ลอยกระทงปีนี้ เชิญเที่ยวงานประเพณียี่เป็งจังหวัดเชียงใหม่
วันลอยกระทงปีนี้เราขอเชิญทุกท่านมาเที่ยวงานประเพณียี่เป็งที่จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับในปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 8 - 12 พฤศจิกายน 2551 ณ ข่วงประตูท่าแพ ริมฝั่งแม่น้ำปิง หน้าเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ กิจกรรม ตื่นตากับโคมลอย ขบวนแห่โคมไฟ ขบวนประกวดกระทง ประกวดเทพียี่เป็ง และการแสดงแสง-เสียงกลางลำน้ำปิงกิจกรรมลอยกระทงย้อนเวลาหาวิถีล้านนาไทยในอดีต การแสดงศิลปะพื้นบ้านล้านนา การออกร้านจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านล้านนา
Thursday, October 30, 2008
ลอยกระทง กับสถานที่ลอยกระทงที่น่าสนใจ
ประเพณีลอยกระทงประจำปีนี้กำลังจะมาเยือนในอีกไม่กี่วันข้างหน้าแล้ว หลายๆคนคงนัดแนะเพื่อนคู่คิด มิตรคู่ใจ พร้อมกับเล็งสถานที่เหมาะๆไว้สำหรับคืนประเพณีแบบไทยๆที่พิเศษนี้ สถานที่เด่นดังที่มีชื่อเสียงในงานประเพณีลอยกระทงก็มีให้เลือกกันหลากหลายใครชอบที่ไหนก็ไปที่นั้น
“ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ” จ.สุโขทัยต้นตำรับนางนพมาศ
ลอยกระทงสวรรค์ จ.แม่ฮ่องสอน สวยงามแปลกตา
ม่วนอกม่วนใจ "ยี่เป็ง ลอยโคม กว๊านพะเยา" งานประเพณีลอยกระทงที่จังหวัดพะเยา จะมีขึ้นบริเวณถนนชายกว๊าน อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ภายใต้ชื่องาน “ยี่เป็ง ลอยโคม กว๊านพะเยา” ซึ่งในปีนี้มีไฮไลท์อยู่ที่ การปล่อยโคมลอยเฉลิมพระเกียรติฯ และในทุกวันจะมีการจัดกิจกรรมการแสดงแสง สี เสียง “ประทีปทอง ส่องธารา ติโลกอาราม”จากสำนักศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลันนเรศวรพะเยา โดยใช้ทีมงานผู้แสดงและนักดนตรีกว่า 500 คน จัดแสดงทุกคืน
ลอยกระทงสายกาบกล้วยเมืองแม่กลอง
งาน "จองเปรียง เพ็ญเดือนสิบสอง" จ.สมุทรปราการ
ลอยกระทงและเทศน์มหาชาติฟังธรรมวันเพ็ญเดือนสิบสอง จ.นครนายก
ล่องสะเปาเมืองรถม้า
Tuesday, October 28, 2008
ลอยกระทงกับประเพณีและกิจกรรมในวันลอยกระทง
- จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
- จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
- ภาคอีสาน จะตบแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ"
- กรุงเทพฯ จะมี งานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว7-10วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
- ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา
ส่วนสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในวันลอยกระทง นั่นก็คือ "กระทง" ซึ่งปัจจุบันนี้ มีการอนุรักษ์ธรรมชาติมากขึ้น โดยให้ใช้วัสดุที่ทำจากธรรมชาติ ลดการใช้วัสดุย่อยสลายยาก เช่น โฟม เป็นต้น ...ในกระทง นอกจากจะมี ดอกไม้ ธูป เทียน แล้ว ยังนิยมใส่ ผม เล็บ และเศษเหรียญ ลงไปด้วย เชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ไปในตัว
นอกจากนี้ก็ยังมีการประกวดสาวงามในเทศกาลลอยกระทง ซึ่งเราเรียกว่า "นางนพมาศ" ซึ่งจะเป็นสีสันในงานแทบทุกแห่ง
และสุดท้าย ที่ขาดไม่ได้เลยเช่นกัน สำหรับประเพณีลอยกระทง นั่นก็คือ เพลงลอยกระทง ซึ่งมีชื่อเต็มๆ ว่า เพลง “ รำวงวันลอยกระทง ” ประพันธ์เนื้อร้อง โดย ครูแก้ว อัจฉริยะกุล และให้ทำนอง โดย ครูเอื้อ สุนทรสนาน บันทึกเสียงครั้งแรก เมื่อปี 2493 และวงดนตรีสุนทราภรณ์ ได้นำมาบรรเลงครั้งแรก ในงานวันลอยกระทงที่ สวนลุมพินี อันถือได้ว่าเป็นเพลงรำวง ที่โด่งดังที่สุดของวงดนตรีสุนทราภรณ์ เนื่องจากเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้วยเหตุนี้ภายหลัง จึงมีการแปลเนื้อร้อง เป็นภาษาอังกฤษ และอีกหลายภาษา ได้ยินครั้งใดก็สนุกสนานกันทุกครั้ง
กิจกรรมในเทศกาลลอยกระทง
สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทงกรุงเทพมหานคร
สถานที่จัดงาน :
แม่น้ำเจ้าพระยา(สะพานกรุงเทพ ถึงสะพานกรุงธน) กรุงเทพมหานคร
กิจกรรม :
การจัดขบวนเรือประดับไฟฟ้ากิจกรรมงานลอยกระทงตามวัด และหน่วยงานต่างๆ การตกแต่งประดับไฟฟ้าอาคาร และโบราณสถานสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จ.สุโขทัย
สถานที่จัดงาน :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรม :
ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน ตระการตาด้วยขบวนแห่กระทงของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และประชาชน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง การประกวดกระทงและการประกวดนางนพมาศ การแสดงแสง-เสียง การแสดง ศิลปวัฒนธรรมประเพณีของสุโขทัย และกิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข
ประเพณียี่เป็ง จ.เชียงใหม่
สถานที่จัดงาน :
ข่วงประตูท่าแพ ริมแม่น้ำปิง หน้าเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
กิจกรรม :
การจัดขบวนแห่โคมไฟ ขบวนประกวดกระทง การประกวดเทพียี่เป็ง และการแสดงแสง-เสียงกลางลำน้ำปิง กิจกรรมลอยกระทงย้อนเวลา หาวิถีล้านนาไทย การแสดงศิลปะพื้นบ้านล้านนา และการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านล้านนา
ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง จ.ตาก
สถานที่จัดงาน :
ริมสายธารลานกระทงสาย เชิงสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จังหวัดตาก
กิจกรรม :
การประกวดกระทงสายชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ การจัดลอยพระประทีปของพระบรมวงศานุวงศ์ การจัดขบวนแห่กระทงพระราชทาน และพระประทีปพระราชทาน การจัดตกแต่งประดับไฟบริเวณงาน การจัดแสดงแสง เสียง พลุ และดอกไม้ไฟ การจัดแสดงม่านน้ำ ชุด ตำนานกระทงสาย การจัดลอยกระทงที่ยาวที่สุด การแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง และการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
งานลอยกระทงตามประทีปศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ จ.พระนครศรีอยุธยา
สถานที่จัดงาน :
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กิจกรรม :
การประกวดกระทง และโคมแขวน การประกวดนางนพมาศ การแสดง แสง-เสียง และสื่อผสม การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค และมหรสพต่างๆ
งานแสดงโคมไฟเฉลิมพระเกียรติ สีสันเมืองใต้ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
สถานที่จัดงาน :
ณ สวนสาธารณะบึงศรีภูวนารถ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
กิจกรรม :
การแสดงโคมไฟประเภทต่าง ๆ และโคมไฟรูปแบบต่าง ๆ ทั่วเมืองหาดใหญ่และการแสดงทางวัฒนธรรม
เพลง รำวงวันลอยกระทง
คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุลทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่งเราทั้งหลายชายหญิงสนุกกันจริง วันลอยกระทงลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทงลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวงรำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทงบุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่งเราทั้งหลายชายหญิงสนุกกันจริง วันลอยกระทงลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทงลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวงรำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทงบุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ ฯ
ลอยกระทง และ ประวัตินางนพมาศ
ประวัตินางนพมาศ
"นางนพมาศ" เกิดในรัชกาลพญาเลอไท กษัตริย์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง บิดาเป็นพราหมณ์ชื่อ โชติรัตน์ มีราชทินนามว่า พระศรีมโหสถ รับราชการในตำแหน่งปุโรหิต มารดาชื่อ เรวดี ภายหลังนางนพมาศได้ถวายตัวเข้าทำราชการในราชสำนักสมเด็จพระร่วงเจ้า สันนิษฐานว่ารับราชการในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) จนกระทั่งได้รับตำแหน่ง "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" พระสนมเอก
เรื่องนี้แต่งด้วยร้อยแก้วแต่มีคำประพันธ์ลักษณะเป็นกลอนดอกสร้อยแทรกอยู่บ้าง ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นใหม่ในมัยรัตนโกสินทร์ เพราะภาษาที่ใช้แตกต่างจากภาษาที่ใช้ในวรรณคดีที่แต่งในยุคเดียวกันคือ คือศิลาจารึกหลักที่ * และ ไตรภูมิพระร่วง เนื้อเรื่องในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงประเพณีต่างๆ ของไทยเช่น การประดิษฐ์ พานหมาก*ชั้นรับแขกเมือง การประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) เพื่อใช้ในพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) ซึ่งประเพณีนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เรียกอีกชื่อ*ว่า หนังสือนางนพมาศ
และนางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วง มีอยู่ 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงมาก
ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่า แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้
นางนพมาศเป็นบุคคลที่ได้สมญาว่า "กวีหญิงคนแรกของไทย" ดังเช่นที่เขียนไว้ว่า "ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่งกาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วยงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฎชื่อแสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน " นี่คือนางนพมาศ สนมเอกของสมเด็จพระร่วงเจ้า
วันลอยกระทง กับ ประวัติความเป็นมา
ประเพณีลอยกระทง การลอยประทีป หรือการลอยโคม มีปรากฏหลักฐาน ในวรรณคดีเรื่องนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเป็นสนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัว แทนการลอยโคม เพื่อเป็นการสักการะ รอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายอยู่ในแคว้น ทักขิณาบถ ของประเทศอินเดีย ปัจจุบัน เรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา นางนพมาศได้ทำกระทงลอย ที่แปลก จากนางสนมอื่นๆ เมื่อพระร่วงเจ้า ได้เสด็จทางชลมารค ทอดพระเนตรเห็นกระทง ของนางนพมาศ ก็ทรงพอพระทัย จึงมีราชโองการ ให้จัดพิธี ลอยกระทง ขึ้นทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือน สิบของทุกปี พระราชพิธีนี้จึงถือปฏิบัติ มากระทั่งถึงปัจจุบัน ประมาณ ร้อยกว่าปีมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายในพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระราชพิธีสิบสองเดือน" ความตอนหนึ่งว่า"การฉลองพระประทีปลอยกระทงนี้ เป็นนักขัตฤกษ์ ที่รื่นเริงทั่วไปของชนทั้งปวงทัวกัน ไม่เฉพาะแต่ การหลวง จะนับว่าเป็นพระราชพิธีอย่างใดก็ไม่ได้ ด้วยไม่ได้มีพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์ อันใดเกี่ยวข้อง เนื่องในการลอย พระประทีปนั้น ..แต่ควรนับว่าเป็นราชประเพณี ซึ่งมีมาในแผ่นดินสยามแต่โบราณ ตั้งแต่พระนครยังอยู่ฝ่ายเหนือ"
ซึ่งความมุ่งหมายในการลอยกระทง มีจุดมุ่งหมายดังนี้
เพื่อขอขมาลาโทษแด่พระแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำกินและใช้ และมนุษย์มักจะทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำ จึงควรขอขมาลาโทษท่าน
เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระบาท ประดิษฐานไว้บนหาดทราย แห่งนั้น
เพื่อบูชาพระอุปคุต ซึ่งชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพอย่างสูง โดยตำนานเล่าว่า อุปคุตนั้น เป็นพระมหาเถระรูปหนึ่ง ที่มีอิทธิฤทธิ์ สามารถปราบมารได้ ท่านจะนั่งสมาธิอยู่บนบัลลังก์แก้ว ในท้องมหาสมุทร เพื่อลอยทุกข์ โศก โรค ภัย และความอัปรีย์จัญไร เหมือนกับการลอบบาป ของศาสนาพราหมณ์ ถ้าใครเก็บกระทงไป เท่ากับเก็บความทุกข์ หรือเคราะห์กรรมเหล่านั้น แทนเจ้าของกระทง
ตำนานวันลอยกระทง
การลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท
ที่ปรากฏที่ฝั่งแม่น้ำนัมมทานที มีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ คือ ครั้งหนึ่ง พญานาคได้ทูลอาราธนา สัทมาสัมพุทธเจ้า ให้เสด็จไปโปรดแสดงธรรมในนาคพิภพ เมื่อพระองค์เสด็จกลับ พญานาคทูลขออนุสาวรีย์ ไว้กราบไหว้ บูชา พระพุทธองค์เลยทรงประดิษฐ์ รอยพระบาทไว้หาดทราย เพื่อให้ นาคทั้งหลาย สักการบูชา การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณีครั้งเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกจากนครกบิลพัสด์ เพื่อจะข้ามแม่น้ำ เมื่อทรงทราบว่า พ้นเขตกรุงกบิลพัสด์แล้ว จึงประทับเหนือหาดทรายขาว และตั้งใจจะบรรพชา จึงทรงจับพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ และใช้พระขรรค์ตัดพระเมาลี โยนขึ้นไปบนอากาศ พระอินทร์ได้นำผอบทองมารองรับไว้ และนำไปบรรจุไว้ยังจุฬามณี เจดีย์สถานในเทวโลก ตามปกติเหล่าเทวดา จะมาบูชาพระจุฬามณี เป็นประจำ แม้พระศรีอาริยเมตไตรยเทวโพธิสาร ในอนาคต จะมาจุติบนโลก และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ยังเคยเสด็จมาไหว้ จึงถือว่าการบูชาพระจุฬามณี เป็นการบูชา พระศรีอาริยเมตไตรยด้วย การลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้ากลับจากเทวโลกเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช จนได้บรรลุสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลังจากเผยแผ่ ธรรมคำสั่งสอน แก่สาธุชน โดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู้บนชั้นดาวดึงส์ เพื่อเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้นจำพรรษาจนครบ สาม เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับโลก เมื่อท้าวสักกเทาวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิต บันไดทิพย์ขึ้น อันมีบันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพ และประชาชน ทั้งหลายได้พร้อมใจ ทำการสักการบูชา ด้วยพวงมาทิพย์ การลอยกระทงตามตำนานนี้เหมือนกับการตักบาตรเทโว การลอยกระทงเพื่อบูชาพระนารายณ์บรรทมสิทธุ์เป็นความเชื่อตามหลักศาสนาพราหมณ์ เป็นการบูชาพระนารายณ์ ที่บรรทมอยู่ในมหาสมุทร นิยมทำใน วันเพ็ญขึ้น ** ค่ำ เดือน** และ ขึ้น ** ค่ำ เดือน ** จะทำในกำหนดใดก็ได้
การลอยกระทงเพื่อบูชาท้าวพกาพรหม
นิทานของชาวบ้านที่เกี่ยวกับวันลอยกระทง ที่เล่าต่อกันมาคือ เรื่องของกาเผือก*** ทำรังอยู่บน ต้นไม้ ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งกาตัวผู้ออกไปหากิน แล้วกลับเข้ารังไม่ได้ ปล่อยให้นางกาซึ่งกำลังกกไข่ 5 ฟอง รอด้วยความกระวนกระวายใจ จนมีพายุมา ทำให้พัดรังของกาเผือกกระจัดกระจาย ไข่ตกลงน้ำ ส่วนแม่กา ถูกลมพัดไปคนละทาง เมื่อแม่กาย้อนกลัมมาดูไข่ที่รัง ก็ไม่พบ จึงร้องไห้จนขาดใจตาย ไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหม อยู่บนพรหมโลก ส่วนใข่ทั้ง 5 ฟอง ลอยน้ำไปในสถานที่ต่าง ๆ บรรดาแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์ มาพบเข้า จึงนำไปรักษาตัวละฟอง ครั้งถึงเวลาฟัก กลับกลายเป็นมนุษย์ ทั้งหมด กุมารทั้ง 5 ต่างเห็นโทษภัยในการเป็นฆราวาสและอานิสงส์ ในบรรพชา จึงลามารดา เลี้ยงไปบวช เป็นฤาษี ต่อมา ฤาษีทั้ง 5 ได้มีโอกาสพบปะกันจึงถามถึงนามวงศ์ และมารดาของกันและกัน จึงทราบว่าเป็นพี่น้อง ฤาษีทั้ง 5 มีนามดังนี้
คนแรก ชื่อกกุสันโธ (วงศ์ไก่)
คนที่2 ชื่อนาคมโน (วงศ์นาค)
คนที่3 ชื่อกัสสโป (วงศ์เต่า)
คนที่4 ชื่อโคตโม (วงศ์โค)คนที่
5 ชื่อเมตเตยโย (วงศ์ราชสีห์)
ต่างตั้งอธิฐานว่า ถ้าจะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าขอให้ร้อนไปถึงพระมารดา ด้วยแรงอธิฐานจึงร้อนไปถึง ท้าวพกาพรหม จึงเสด็จลงมาและจำแลงเป็นกาเผือก แล้วเล่าเรื่องหนหลังให้ฟัง พร้อมบอกว่าถ้าคิดถึงมารดา เมื่อถึงคืน วันเพ็ญเดือน ** เดือน ** ให้เอาด้ายดิบผูกไม้เป็นตีนกา ปักธูปเทียนบูชาลอบกระทงในแม่น้ำ แล้วท้าวพกาพรหมก็เสด็จกลับไป ตั้งแต่นั้นมา จึงมีการลอยกระทงบูชาท้าวพกาพรหม และเพื่อเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท ที่แม่น้ำ นัมมทานที
ส่วนฤาษีทั้ง 5 ต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้
ฤาษีองค์แรก กกุสันโธ ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระกกุสันโธ
ฤาษีองค์ที่2 โกนาคมโน ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโกนาคมม์
ฤาษีองค์ที่ 3 กัสสโป ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ
ฤาษีองค์ที่4 โคตโม ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สมณโคดม
ฤาษีองค์ที่5 เมตเตยโย ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรย
พระพุทธเจ้า * องค์แรก ได้บังเกิดบนโลกแล้ว พระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พระพุทธเจ้าองค์ที่ 3 คือ พระศรีอาริยเมตไตรย จะมาบังเกิดในโลกมนุษย์ในอนาคต การลอยกระทงเพื่อบูชาพระอุปคุตต์การลอยกระทงเพื่อบูชาพระอุปคุตต์นี้ เป็นประเพณีของชาวเหนือ และชาวพม่า พระอุปคุตต์นี้ เป็นพระอรหันต์ หลังสมัยพุทธกาล โดยมีตำนานเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้โปรด ให้สร้าง พระสถูปเจดีย์ และพุทธวิหารขึ้นทั่วชมพูทวีป มหาวิหารที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ "อโศการาม" ซึ่งตั้งอยู่ในแคว้นมคธ หลังจากพระสถูปต่าง ๆ ***** องค์สำเร็จแล้ว พระเจ้าอโศกทรงมีพระราชประสงค์ จะนำพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปบรรจะตามสถูปต่าง ๆ และมีการเฉลิมฉลอง ยิ่งใหญ่ เป็นเวลา* ปี * เดือน * วัน ด้วยเกรงว่าพญามาร จะมาทำลายพิธี พระเจ้าอโศมหาราชจึงนิมนต์พระอุปคุตต์ที่จำศีลอยู่ในสะดือทะเล องค์เดียวเท่านั้น ที่*ารถ ปราบพญามารได้ หลังจากนั้นพญามารก็สำนึกตัวหันมายึดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ส่วนพระอุปคุตต์ หลังจาก ได้ปราบพญามารแล้วจึงลงไปจำศีลอยู่ที่สะดือทะเลตามเดิมพระอุปคุตต์นี้ไทยเรียกว่า พระบัวเข็ม ชาวไทยเหนือหรือชาวพม่าจะนับถือพระอุปคุตต์มาก
ลอยกระทง สิ่งที่นี่รู้เกี่ยวกับ ประเพณีลอยกระทง
วันลอยกระทง (Loy Krathong Festival) เป็นวันสำคัญทางประเพณีอีกวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่ (เดือนที่ 2) ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา ประมาณราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา และ สะเดาะเคราะห์ บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก